สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

บุคคลภายนอกทำสัญญาชำระหนี้แทนลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จะมีผลอย่างไร

กรณีที่บุคคลสองคนเป็นหนี้ต่อกัน สัญญาต้องผูกพันตามที่คู่สัญญานั้นๆ ได้แสดงเจตนาไว้ ความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ก็เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว แต่กรณีที่มีบุคคลภายนอกย่อมเข้าผูกพันตนเข้าทำสัญญากันเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยไม่ได้ตกลงว่า ให้หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นอันระงับไป การทำสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับเจ้าหนี้ย่อมมีผลผูกพันระหว่าง เจ้าหนี้กับบุคคลภายนอกนั้น ในกรณีเช่นนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ได้ตามสัญญาดังกล่าวได้ และเจ้าหนี้ยังไม่สูญเสียสิทธิในการเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตามสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อีกด้วย ดังนั้น การทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับบุคคลภายนอกจึงมีผลทำให้เจ้าหนี้เกิดสิทธิเรียกร้องเอากับบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น นาย ก เอาเจ้าหนี้เงินกู้ นาย ข จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาทท ต่อมา นาย ค บิดาของนาย ข ได้มาทำสัญญาว่า ตกลงจะชำระหนี้ให้แก่นาย ก ในหนี้สัญญากู้ระหว่าง นาย ก กับ นาย ข การทำสัญญาระหว่าง นาย ก และ นาย ค ย่อมมีผลผูกพันให้นาย ค ต้องชำระหนี้ตามสัญญาที่ไว้กับนาย ก ด้วย

กรณีนี้ ไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า สัญญาต้องเป็นสัญญา

คำพิพากษาย่อสั้น
การรับสภาพหนี้ เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่งค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2537
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงพยาบาลจำเลยทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ไว้ต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ที่ นางสาวคำพันธ์ ตั้นภูมิ ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 18,600 บาท ครบกำหนดจำเลยไม่ชำระโจทก์ทวงถามแต่จำเลยก็เพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 30,119บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเพียงผู้ประกันการชำระหนี้ของนางสาวคำพันธ์ ตั้นภูมิ โจทก์ชอบที่จะเรียกให้นางสาวคำพันธ์ชำระหนี้ก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลโดยอาศัยสัญญารับสภาพหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 จากจำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่เกิดสิทธิเรียกร้องได้ล่วงเลยมาเป็นเวลา 8 ปีเศษแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้ว เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นหนังสือรับสภาพหนี้คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง

 

 

 

 

โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 30,119 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายมีว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4เป็นหนังสือรับสภาพหนี้หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยให้เหตุผลว่า การที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่ารักษาพยาบาลของนางสาวคำพันธ์ตั้งภูมิ ถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ส่วนการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 1 เดือน หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของหนี้เดิมและการที่จำเลยทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้เป็นการปลดเปลื้องหนี้สินที่นางสาวคำพันธ์มีต่อโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ และคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ไว้ต่อโจทก์มีสาระสำคัญว่า จำเลยขอรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ว่านางสาวคำพันธ์ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโจทก์เป็นเงิน 24,300 บาท ขณะนี้จำเลยยังค้างชำระค่ารักษาพยาบาลของนางสาวคำพันธ์เป็นเงิน 18,600 บาทจำเลยสัญญาว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์2525 หากจำเลยไม่ชำระให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายได้ เห็นว่าการรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ ส่วนการแปลงหนี้ใหม่นั้น แม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ซึ่งนางสาวคำพันธ์เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของนางสาวคำพันธ์ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้โดยอาศัยหนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นหลัก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่า หนังสือสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เป็นเพียงแต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่นางสาวคำพันธ์ค้างชำระให้โจทก์สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่)นับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2525 ซึ่งเป็นวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน


บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่